เวียนศีรษะเสียการทรงตัว

“เวียนศีรษะ คลื่นไส้ บ้านหมุน บ่อยครั้ง อาการที่ไม่ควรมองข้าม”

การรักษาด้วยกายบริหาร

            การรักษาอาการเวียนศีรษะกระทำได้ 3 วิธี คือ การใช้ยา การผ่าตัด และกายบริหาร นิยมใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการวิงเวียนศีรษะ ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว เช่น เวลาหันศีรษะไวๆ นอกจากนี้ยังใช้กับอาการเวียนศีรษะที่เป็นนานเกิน 1-2 เดือน และอื่นๆ ตามความเหมาะสม

การเตรียมตัวเตรียมใจก่อนทำกายบริหาร

  1. ควรมีผู้เฝ้า หรือผู้ช่วยขณะบริหาร
  2. บริเวณที่ออกกาบริหาร ควรปราศจากวัตถุที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้
  3. อย่าดัดแปลงท่าออกกำลังกายบริหารเอง อาจทำให้การรักษาไม่ได้ผล
  4. ทำกายบริหารครั้งละ 15-30 นาที วันละกี่ครั้งก็ได้ (อย่างน้อย 2 ครั้ง)
  5. ต้องอดทนจึงจะเห็นผล หลังสัปดาห์ที่ 1-2 ขึ้นไป
  1. การบริหารสายตาและกล้ามเนื้อคอ (นั่งทำ)
    1. มองขึ้น-ลง ซ้ำ 20 ครั้ง พักแล้วมองไปทางซ้าย มองไปทางขวา 20 ครั้ง ช้าๆ แล้วเร็วขึ้น เมื่อคล่องแล้วมองไปด้วยเคลื่อนไหวศีรษะไปด้วย เช่น มองขวาก็หันขวา มองบนก็เงยศีรษะ มองล่างก็ก้มศีรษะ
    1. มองที่ปลายนิ้วชี้ตัวเอง แล้วขยับมือเข้ามาใกล้ตัว 1 ฟุต แล้วถอยกลับที่เดิม ทำ 20 ครั้ง
    1. หลับตา ก้มศีรษะมากๆ เหมือนคำนับ เงยตรง แล้วหงายศีรษะไปข้างหลัง ทำ 20 ครั้ง
    1. หันศีรษะไปซ้าย ตรง ขวา 20 ครั้ง แล้วลืมตาทำ
    1. เอียงหูขวาชิดไหล่ขวา ตรง เอียงหูซ้ายชิดไหล่ซ้าย ตรง ทำ 20 ครั้ง แล้วลืมตาทำ
  2. กายบริหารเพื่อกระตุ้นการทรงตัวทั้งระบบ (5-10 นาที)
    1. ยืนที่มุมห้อง ผู้ช่วยอยู่ด้านหลัง เท้าชิดกัน หมุนศีรษะไปมองภาพ 15-20 ครั้ง
    1. หมุนทั้งตัวไปมา ข้อเท้ายังชิดกันเหมือนเดิม 15-20 ครั้ง
    1. ยืนเท้าชิดกัน หันเข้าหามุมห้อง มือยันข้างฝา (ถ้าจำเป็น) ให้ผู้ช่วยผลักสะโพกเบาๆ ทีละข้าง ผลักเช่าเบาๆ ทีละข้าง พยายามปรับสมดุลด้วยตัวเอง
    1. ยืนในท่าเดิม ยกเข้าขึ้นทีละข้าง พยายามยืนขาเดียว 5-10 วินาที ทำสลับขา
  3. การบริหารในท่าที่เวียน (ประมาณ 10 นาที)
    1. ถ้าผู้ป่วยเวียนเวลานอนตะแคง ให้นั่งบนเตียง โดยโยกตัวให้หูซ้ายตะแคงนั่งตรง หูขวาตะแคง
    1. ถ้าเวียนเวลานอนหงาย หรือเงยศีรษะ ให้นั่งบนเก้าอี้ ตัวตรง ก้ม พยายามให้จมูกแตะเข่าซ้าย ค้างไว้ 10-20 วินาที แล้วยืดตัวขึ้นพร้อมๆ กับเอียงหูขวา แตะไหล่ขวา ทำสลับข้าง พยายามค้างในแต่ละท่า 10-2 วินาที แม้จะมีอาการเวียน เพื่อเอาชนะอาการ ทำประมาณ 5-10 นาที
  4. การบริหารร่างกายทั่วไป เป็นการบริหารที่ไม่เป็นระบบ แต่ผู้ป่วยจะมีความสุขกับวิธีนี้มากกว่า โดยให้เลือกทำอะไรก็ได้ดังต่อไปนี้ วันละ 20 นาที หรือมากกว่าเท่าที่ต้องการ
    1. ไปนั่งชมกีฬาในสถานที่จริงๆ เช่น แบดมินตัน เทนนิส กอล์ฟ ฟุตบอล ฯลฯ
    1. เดินเล่นชมนกชมไม้ มองพื้น มองฟ้า ก้มหยิบของ (ต้องมีผู้ช่วย) หัดเดินบนฟูก
    1. เล่นกีฬาเบาๆ ที่ชอบ เช่น ปิงปอง เลี้ยงลูกบาส พัตต์กอล์ฟ เป็นต้น (ห้ามว่ายน้ำ)

หน่วยหูและโสตประสาท ช่วยอะไรท่านได้บ้าง

  1. ปัญหาเวียนศีรษะ หรืออาการทรงตัวผิดปกติ
  2. ปัญหาการได้ยินผิดปกติ หรือเสียงใบหู
  3. ปัญหาเด็กไม่พูด พูดช้า พูดผิดปกติ
  4. ปัญหาใบหน้าเป็นอัมพาต
  5. ปัญหาหูน้ำหนวก และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับหู