เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งซึ่งมีสาเหตุจากการที่ร่างกายมีกรดยูริคสะสมอยู่ตามข้อมาก ทำให้เกิดการอักเสบกรดยูริคอาจตกตะกอนในไตหรือทางเดินปัสสาวะทำให้เป็นนิ่ว หรือไตวายเรื้อรังได้ กรรมพันธุ์มีส่วนเกี่ยวข้องทำให้เกิดโรคเก๊าท์ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
อาการ
จะมีอาการปวด บวม แดง ร้อนบริเวณข้อ พบใกล้บริเวณหัวแม่เท้า ข้อเท้า ถ้าเป็นนานๆ จะลามไปยังข้ออื่นได้ อาการปวดมักเป็นๆ หายๆ หรือเรื้อรัง ในรายที่เป็นมานานอาจจะพบนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งอาจะมีอาการปวดเอว ปัสสาวะขัดจนถึงขึ้นไตวายได้หากมีนิ่วอุดตัน ในบางรายที่เป็นนานๆ จะมีปุ่มปมเกิดบริเวณข้อศอก บริเวณใกล้ข้อต่างๆ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคเก๊าท์
- เจาะเลือดเพื่อการะดับ “กระยูริค” ในเลือด ถ้าสูง 7.5 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ถือว่าสูง ซึ่งอาจมีแนวโน้มที่จะมีอาการข้ออักเสบตามมาในอนาคต
- เอกซเรย์ข้อที่ปวดจะพบกรดยูริคสะสมตามข้อจนเป็นเงาขาว
- จะเอาน้ำไขข้อมาตรวจเพื่อตรวจดูผลึกยูเรตคริสตัล
การรักษา
- เมื่อข้ออักเสบ แพทย์จะให้ยารับประทาน เพื่อทำให้อาการปวด บวม ของข้อหายไป
- แพทย์อาจให้ยาบางชนิด เพื่อลดกระยูริคในเลือด เป็นการป้องกันไม่ให้กรดยูริคตกตะกอน และละลายผลึกยูริคที่พอกพูนอยู่แล้วออกไปให้หมดจะไม่เกิดข้ออักเสบอีก ซึ่งต้องใช้เวลาในการรักษา
ยาที่ใช้มี 3 ประเภท ได้แก่
- ยาระงับอาการข้ออักเสบ
ซึ่งเมื่ออาการทางข้อหายแล้วอาจจะหยุดรับประทานได้
- ยาลดกรดยูริคในเลือด
ซึ่งจะต้องรับประทานไปตลอด เช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูงเพื่อป้องกันไม่ให้กรดยูริคไปตกตะกอนที่ข้อหรือไตได้อีก
- ป้องกันการอักเสบของข้อร่วมด้วยกับยาลดกรดยูริค
ในระยะเริ่มแรกของการรักษา หากไม่เกิดอาการอักเสบสักระยะหนึ่งแล้ว ก็หยุดยาป้องกันการอักเสบได้ คงให้แต่ยาลดกรดยูริคต่อไป
สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ?
โรคนี้สามารถควบคุมให้เป็นปกติได้โดยการคุมอาหารร่วมกับการรับประทานยาอาการอักเสบของข้อ สามารถรักษาให้หายได้หรือป้องกันไม่ให้เป็นอีกได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ เพื่อให้ผู้ป่วยหายจากปวดข้อและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคได้โดยใช้ยา บางครั้งอาจใช้การผ่าตัดช่วย เช่น ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นนิ่ว
การปฏิบัติตน
สำหรับผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์
- รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ซึ่งจะรับประทานติดต่อกันเป็นปีๆ จนกว่าไม่มีการตกตะกอนของกรดยูริค หากมีอาการท้องเดิน ปวดท้องหรือถ่ายเหลว ควรรีบไปปรึกษาแพทย์
- ดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันการเกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ยกเว้นในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจหรือโรคไตที่จำเป็นต้องจำกัดน้ำ
- งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะทำให้กรดยูริคถูกขับออกจากร่างกายได้ไม่ดีและทำให้ตับสร้างกรดยูริคมากขึ้น ทำให้มีการสะสมของกรดยูริคมากขึ้น
- งดอาหารพวกเครื่องในสัตว์ เพราะกรดยูริคเป็นส่วนหนึ่งของสารพิวรีนที่พบในตับ ไต สมอง หัวใจ และกระเพาะอาหารของสัตว์
แหล่งอาหาร
เนื่องจากกรดยูริคจะได้การเผาผลาญสารพิวรีน ดังนั้น ในการรักษาโรคเก๊าท์จึงควบคุมสารพิวรีนในอาหารด้วย อาหารที่ผู้เป็นโรคเก๊าท์ไม่ควรรับประทานโดยเด็ดขาด ในระยะที่โรคกำเริบ
ห้ามกินเด็ดขาด
หัวใจไก่, ตับไก่, กึ๋นไก่, เซ่งจี้หมู, ตับหมู, ไต, ตับอ่อน, มันสมองวัว, เนื้อ, ไก่, เป็ด, ห่าน, ไข่ปลา, ปลาดุก
“โรคเก๊าท์แม้ไม่หายขาด แต่สามารถควบคุมได้”