เพราะสุขภาพที่ดีหาซื้อไม่ได้แต่สามารถสร้างขึ้นมาได้ด้วยตัวคุณเอง

ทำไมต้องมีการตรวจสุขภาพ ?

เพราะคนเราอาจมีโรคหรือภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ซ่อนอยู่ในตัว ซึ่งพบได้ในทุกกลุ่มวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยผู้สูงอายุ ความผิดปกติที่ซ่อนอยู่นี้จะไม่แสดงอาการในระยะแรกหรือระยะที่มีความรุนแรงน้อย ทำให้คนเหล่านี้ที่ไม่ได้ไปรับการตรวจสุขภาพ และหากปล่อยไว้นาน (ซึ่งอาจกินเวลาเป็นแรมปีหรือนับสิบ ๆ ปี) โรคหรือภาวะเสี่ยงที่ซ่อนอยู่นั้นก็จะกลายเป็นโรคที่กำเริบหนักและเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงตามมาในที่สุด

ดังนั้นการตรวจสุขภาพจึงทำเพื่อ

  1. ค้นหาโรคที่ซ่อนอยู่ในตัวโดยที่ยังไม่มีอาการผิดปกติให้เห็น ซึ่งถือว่าเป็น “ภัยเงียบ” เช่น โรคเบาหวาน ความตันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง มะเร็งเต้านมในระยะแรก มะเร็งปากมดลูกในระยะแรก เป็นต้น ซึ่งตามหลักการรักษาแล้ว การตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะแรกหรือระยะที่มีความรุนแรงน้อย จะรักษาโรคได้ทัน ไม่ลุกลามลดภาวะแทรกช้อน บางโรคอาจรักษาให้หายขาดได้
  2. หาปัจจัยหรือพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ซึ่งเจ้าตัวอาจไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหา เช่น กรรมพันธุ์ การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม การขาดการออกกำลังกาย การมีอารมณ์เครียด ภาวะน้ำหนักเกินหรือลงพุง สภาพแวดล้อมหรือการทำงานที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วย หรือความผิดปกติที่ซ่อนอยู่ในตัว (เช่น ความดันลูกตาสูง ซึ่งทำให้เกิดโรคต้อหิน ไวรัสตับอักเสบบีในเลือดซึ่งทำให้เกิดโรคตับอักเสบเรื้อรังและมะเร็งตับ) เมื่อพบว่ามีปัจจัยหรือพฤติกรรมเสี่ยงอะไร หมอที่ตรวจก็จะให้การดูแลและให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวป้องกันไม่ให้เกิดโรคตามมา ที่สำคัญผู้ที่มีภาวะเสี่ยงควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย

ใครบ้างที่ควรรับการตรวจสุขภาพ?

ทุกคนตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยชราควรได้รับการตรวจสุขภาพ ซึ่งคณะกรรมการพัฒนาการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสม กระทรวงสาธารณสุขได้แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวัยเด็กและวัยรุ่น (อายุ 0-18 ปี) กลุ่มวัยทำงาน (อายุ 18-60 ปี) กลุ่มวัยผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ แต่ละกลุ่มมีแนวทางการตรวจสุขภาพที่แตกต่างกัน

ควรตรวจสุขภาพบ่อยแค่ไหน ?

การตรวจสุขภาพโดยทั่วไป คือ ทุก 1 ปี อาจตรวจบ่อยชื้นกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือแพทย์ต้องการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ขึ้นกับคำแนะนำของแพทย์

การตรวจสุขภาพ ต้องตรวจอะไรบ้าง ?

การตรวจสุขภาพ เบื้องตันเริ่มจากการตรวจวัดความดันโลหิต ชีพจร และตรวจร่างกายโดยแพทย์เฉพาะทาง ตรวจหาดรรชนีมวลกาย ตรวจความผิดปกติของเม็ดเลือด วัตระดับน้ำตาลในเลือดและไขมันในเลือด เพื่อดูความเสี่ยงโอกาสของการเกิดโรคหัวใจ ภาวะความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นที่มาของโรคเสี่ยงต่อการเกิดอัมพฤกษ์และอัมพาตในอนาคต ตรวจการทำงานของตับไต ตรวจวัดมวลกระดูก และตรวจระดับกรดยูริคจากเลือด  เพื่อตรวจหาโอกาสการเกิดโรคไขข้ออักเสบ ตรวจเอกซเรย์ปอด เป็นต้น

นอกจากนี้สำหรับท่านที่ต้องการตรวจร่างกายเฉพาะส่วนหรือเฉพาะโรค เช่น ตรวจหาความเสี่ยงของมะเร็งในเพศชายและเพศหญิง เช่น การตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก, มะเร็งปากมดลูก, มะเร็งเต้านม โดยการเจาะเลือดหรือเครื่องมือพิเศษ