ไวรัสโรต้า วายร้ายใกล้ตัวลูก

กรมควบคุมโรค เตือนผู้ปกครองดูแลบุตรหลาน โดยเฉพาะเด็กเล็กอย่างใกล้ชิด เพราะอาจป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้า หลังพบผู้เสียชีวิตจากโรคอุจจาระร่วง 3 ใน 4 ราย เป็นเด็กเล็กต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโรต้า ที่สำคัญในกลุ่มนี้จะมีการติดเชื้อซ้ำได้หลายครั้ง หมั่นสังเกตอาการ รับประทานอาหารที่ปรุง “สุก ร้อน สะอาด”และหมั่นล้างมือบ่อยๆ

ตลอดปี2560 พบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง จำนวน 985,544 ราย เสียชีวิต 4 ราย ในจำนวนนี้เป็นการป่วยในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 226,909 ราย คิดเป็นร้อยละ 23 ของผู้ป่วยทั้งหมด และเสียชีวิต 3 ราย ซึ่งจากการสำรวจของกรมควบคุมโรค เมื่อ ปี 2544-2546 พบว่า การป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสโรต้าประมาณร้อยละ 43

โรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า คืออะไร?

ไวรัสโรต้า เป็นไวรัสกลุ่มอาร์เอ็นเอ (Double stranded RNA virus) ใน ตระกูล (Family) Reoviridae จำแนกตามโปรตีนส่วนขั้นใน ได้ 7 กลุ่ม (A, B, C, D, E, F, G) แต่จำแนกตามโปรตีนชั้นนอกได้เป็น G-type และ P-typeเช่น G1P[8], G2P[4] เป็นต้น สายพันธุ์ก่อโรคในคนที่พบบ่อยทั่วโลก ได้แก่ G1P[8], G2P[4], G3P[8], G4P[8] และ G9P[8] การระบาดของไวรัสโรต้า ถูกพบมากช่วงเตือนธันวาคม ถึงมีนาคม ติดต่อโดยการรับเชื้อเข้าทางปาก จากการปนเปื้อนของเชื้อในน้ำดื่มและน้ำใช้ หรือการสัมผัสกับเครื่องใช้หรือของเล่นต่างๆ ที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสโรต้า  โดยมักจะมีอาการภายใน 2-10 วันหลังการรับเชื้อเข้าไป เชื้อที่ออกจากร่างกายไปติดตามสิ่งของต่างๆ จะคงทนอยู่นานหลายเตือน หากไม่เข็ดออกด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ซึ่งเชื้อเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดการติดโรคไต้เช่นกัน

โรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า มีอาการอย่างไร?

เมื่อได้รับเชื้อไวรัสโรต้าเข้าสู่ร่างกาย ส่วนใหญ่ ระยะฝักตัวน้อยกว่า48 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะมีไข้สูง บางรายมีอาการของหวัดนำมาก่อน อาเจียนใน 2-3 วัน และเริ่มมีอาการอุจาจาระเป็นน้ำตามมา และมีอาการได้นาน 3-8 วันผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจพบภาวะขาดน้ำหรือ อาจเกิดภาวะช็อค และ อาจเสียชีวิตใต้ นอกจากนี้อาจมีเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ และมีภาวะพร่องแลคเตส ร่วมด้วย

ใครเสี่ยงต่อโรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า ?

            โรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้าพบมากในกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปีโดยเฉพาะช่วงอายุ 6 เตือน-2 ปี สถานที่ที่พบมากคือ สถานสงเคราะห์เด็ก โรงพยาบาล นอกจากนี้ สามารถพบการติดเชื้อไวรัสโรต้าในผู้ใหญ่ได้บ้าง แต่พบได้ไม่บ่อยนักเพราะผู้ใหญ่จะมีภูมิต้านทานที่แข็งแรงพอจะกำจัดไวรัสโรต้าได้  แต่หากร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำ เชื้อไวรัสโรต้าก็ก่อให้เกิดอาการอุจจาระร่วงอย่างรุนแรงได้เช่นกัน

โรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้ารักษาได้อย่างไร ?

          ไวรัสโรต้า ไม่มียารักษาเฉพาะการรักษาเป็นการรักษาตามอาการและการรักษาแบบประคับประคอง  โดยให้สารละลายเกลือแร่กินให้เพียงพอกับน้ำและเกลือแร่ที่เสียไปกับการอาเจียนและท้องร่วง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการรักษา โตยปกติเด็กมักจะไม่ค่อยยอมกินพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก ต้องพยายามป้อนให้ได้ตลอด อาเจียนออก ก็ป้อนใหม่ หากเด็กกินไม่ได้ ต้องให้สารน้ำทดแทนทางหลอดเลือดดำ เมื่อมีไข้ รักษาอาการไข้โดยเช็ดตัวและให้ยาลดไข้ ให้ยารักษาตามอาการ เช่นยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น ให้รับประทานอาหารอ่อน รสไม่จัด ควรให้อาหารและน้ำที่ละน้อยๆ แต่ให้บ่อยๆ หากเกิดภาวะขาดเอนไซม์แลคเตส ควรเปลี่ยนนมเป็นนมที่ไม่มีแลคโตส หรือไห้นมถั่วเหลือง ในเด็กที่ดื่มนมแม่ สามารถให้นมแม่ต่อไปโดยไม่ต้องเปลี่ยนนม การรักษาที่ดีคือให้น้ำและเกลือแร่ทดแทนให้เพียงพอและให้ทันเวลา เด็กจะไม่ซึม ปัสสาวะไต้ตี ไม่หอบเหนื่อย

โรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้าป้องกันอย่างไร?

1.หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่หรือเจลล้างมือทั้งก่อนเตรียมอาหาร เตรียมนม และก่อนรับประทานอาหาร รวมถึงภายหลังการใช้ห้องน้ำ

2.รับประทานอาหารที่ปรุง “สุก ร้อน สะอาด” รวมทั้งใช้ช้อนกลาง

3.ดูแลสถานที่และอุปกรณ์เครื่องใช้ให้สะอาดอยู่เสมอ รวมถึงการกำจัดอุจจาระเด็กให้ถูกต้อง ผู้ดูแลต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระเด็กป่วย

4.ปัจจุบัน ไวรัสโรต้า มีวัคซีนในการป้องกัน โดยช่วงที่ให้วัคซีนกินครั้งแรก จะอยู่ในช่วง 6 สัปดาห์ถึง 4 เดือน และจะต้องให้ครบ ภายใน 8 เดือน เพราะในเด็กที่อายุมาก การให้วัคซีนอาจจะมีความสัมพันธ์กับการเกิดลำไส้กลืนกัน จึงไม่แนะนำให้วัคซีนหลังอายุ 8 เดือน

ทั้งนี้ ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตอาการของบุตรหลานอย่างใกล้ชิด หากเริ่มมีความผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ทันที